top of page

คุณเชื่อไหมครับ..."การมีลูกสาวทำให้พ่อแม่มีความสุขมากกว่าการมีลูกชายถึงสองเท่า"



ระหว่างลูกสาวและลูกชาย คุณคิดว่าลูกคนไหนที่ทำให้พ่อแม่มีความสุขมากกว่ากัน ?


เมื่อไม่นานมานี้มีการวิจัยออกมาว่า การมีลูกสาวทำให้พ่อแม่มีความสุขมากกว่าการมีลูกชายถึงสองเท่า โดยงายวิจัยชิ้นนี้เป็นความร่วมมือของนักเศรษฐศาสตร์จากอังกฤษ 2 คน ซึ่งเป็นคุณพ่อมือใหม่ ที่พึ่งมีลูกชายคนแรก และมีคนที่พึ่งมีลูกสาวคนแรก สมมุติฐานของทั้งสองจึงแตกต่างกัน


ข้อมูลที่ทางนักวิจัยใช้นั้น ได้มาจาก National Omnibus Surveys of the Number os Sons/ Daughters in the East, North, adn South of England (หรือ NONSENSE) ที่เก็บแบบสำรวจในอังกฤษตั้งแต่ปี 1990-2012 โดยวัดความพอใจในชีวิตของพ่อแม่ตั้งแต่ลูกยังไม่เกิด โดยเริ่มวัดความพอใจในชีวิตของพ่อและแม่ตั้งแต่ลูยังไม่เกิด และวัดความสุขของพ่อแม่ ต่อเนื่องทุกปีจนกว่าเด็กจะมีอายุประมาณ 22 ปี


จากการเก็บข้อมูลยาวนานถึง 13 ปี ทำให้มีขนาดตัวอย่างที่ค่อนข้างใหญ่ (จากข้อมูลทั้งหมด 5,245 ครอบครัว โดยเฉลี่ยแล้วครอบครัวหนึ่งจะมีลูก 1.24 คน และเป็นผู้หญิง 0.76 คน) พบว่า


1. ค่าเฉลี่ยความพอใจในชีวิตของพ่อแม่ ในขณะที่ยังไม่ทราบเพศนั้นๆ มีพอๆกัน จนกระทั่งลูกเกิด ค่าเฉลี่ยความสุขของพ่อแม่ที่มีลูกสาวจะมีค่าสูงกว่าพ่อแม่ที่มีลูกชายถึงสองเท่า


2. ค่าเฉลี่ยความสุขของพ่อแม่ที่มีลูกสาวจะขึ้นสู่จุดสูงสุดเมื่อลูกอายุ 3-4 ปี ส่วนค่าเฉลียความสุขของพ่อแม่ที่มีลูกชายจะต่ำสุดเมื่อลูกมีอายุ 5-7 ปี


3. ค่าเฉลี่ยความสุขของพ่อแม่ที่มีลูกสาวจะทิ้งตัวดิ่งลงไปถึงจุดต่ำสุดตอนลูกอายุประมาณ 15-18 ปี (น่าจะตอนที่ลูกสาวเริ่มออกเดตครั้งแรกแน่ๆ)


4. ผลกระทบเชิงบวกของการมีลูกสาวต่อความสุขของพ่อแม่จะสูงขึ้นพร้อมๆกับอายุของพ่อแม่ พูดง่ายๆ คือพ่อแม่ที่มีอายุมาก (50 ปีขึ้นไป) จะมีความสุขมากถ้าลูกของเขาเป็นผู้หญิงเมื่อเทียบกับพ่อแม่ที่มีอายุน้อยกว่า(35-45 ปี) จากการวิจัยพบว่าผลกระทบเชิงบวกของการมีลูกสาวต่อความสุขตัวนี้น่าจะมาจากการที่ลูกสาวจะดูแลพ่อแม่ที่แก่ตัวได้ดีกว่าลูกชาย


5. ขอบอกว่าสิ่งที่ผมเขียนมาทั้งหมด ไม่มีความจริงอะไรเลยครับ นั่นเป็นเพราะผมคิดขึ้นมาเองทั้งหมด ไม่มีองค์กร ที่ชื่อว่า NONSENSE (ที่จริงชื่อย่อก็บ่งบอกความไม่สมเหตุสมผลกันแล้วนะครับ) ไม่มีนักวิจัยในอังกฤษ และการวิจัยดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นจริง


แล้วก่อนที่จะอ่านมาถึงข้อ 5 นี้ คุณได้แชร์บทความนี้ไปหรือยังเอ่ย่ !!!


บทความนี้เป็นการทดลองทางสังคม (Social Experiment) อย่างหนึ่ง นั่นคือทดสอบความผู้คนใช้เวลาในการอ่านบทความออนไลน์มากน้อยแค่ไหนก่อนที่จะทำการ "ชอบ" หรือ "แชร์" บทความบนโซเชียลมีเดีย หรือคุณยังไม่อ่านเลย แค่เห็นชื่อบทความก็แชร์แล้ว...


จากงานวิจัย (อันนี้วิจัยจริงๆน้า) โดยนักวิจัยของ Upworthy (เวปไซด์รวบรวมบทความออนไลน์) ได้ลองวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่เราใช้ในการอ่านบททความและการแชร์บทความในโซเชียลมีเดีย พบว่า 9% ของคนที่แชร์บทความบน Facebook หรือ Twitter อ่านบทความไปแค่ 10% ส่วนคนที่อ่านไปได้ถึง 75% จะแชร์ต่อแค่ 5% เท่านั้น (ค่าเฉลี่ยในการแชร์จะลดลงถ้าคนนั้นอ่านนานขึ้น)


พฤติกรรมการกดแชร์ "อย่างรวดเร็ว" บ่งบอกถึงจิตใจสำนึกบางอย่าง ของคน 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือคนที่ไม่เห็นด้วยกับบทสรุปที่พาดหัวไว้ (ประมาณว่า "ไอ้คนเขียนคิดได้ไงฟ่ะ ไม่ว่าลูกชาย หรือลูกสาวก็ให้ความสุขได้เท่าๆกันนั่นแหล่ะ") กับอีกกลุ่มคือ กลุ่มที่เห็นด้วยกับบทสรุปที่ไม่จริง (ในกรณีนี้คือคนที่เชื่อว่าการมีลูกสาวทำให้พ่อแม่มีความสุขมากกว่า)


Confirmation Bias

ผมขอเรียนพฤติกรรมของคนสองกลุ่มนี้ว่าเป็นผลจาก Confirmation Bias หรือพฤติกรรมของคนที่ต้องการหาและแปลข้อมูลที่สนับสนุนหรือยืนยันในสิ่งที่ตัวเองเชื่อและยึดถือ ยิ่งถ้าบทความมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องที่กระตุกอารมณ์ของพวกเขามากเท่าไหร่ โอกาสที่จะตกเป็นเหยื่ออารมณ์ของข้อความเหล่านี้ก็จะยิ่งสูงขึ้น


แล้วคุณล่ะครับ....อ่านจบก่อนแชร์ หรือแชร์ไปก่อนแล้วค่อยมาอ่านจนจบล่ะ


หากคุณคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ หรือคนที่คุณรู้จัก ช่วยแชร์ และย้ำเตือนเค้าให้ "อ่านให้จบ" ก่อนที่จะตีความหรือแชร์ต่อด้วยนะครับ ^_^


ปล. ขอบคุณเนื้อหาบทความจากหนังสือ HOW HAPPINESS WORKS ของ ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี


อ.โหน่ง อลงกรณ์ สุวรรณเวช

-นักคิด นักการตลาดออนไลน์ -

Marketing Cuisine - ปรุงการตลาดออนไลน์

Hozzászólások


2.png

Digital Advertising Articles

Content Marketing Articles

Digital Marketing Trends Articles

bottom of page